วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 6 ตุลาคม 2553

สอบวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายก่อนการปิดภาคเรียน

วันที่ 29 กันยายน 2553

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักมิติสัมพันธ์
2.ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักการเรียงลำดับ
3.ครูต้องสอนเด็กให้รู้จักสังเกตเปรียบเทียบ
ต้นไม้ ที่ รดน้ำใส่ปุ่ย
ต้นไม้ ที่ ไม่ให้อะไรเลย
สรุป ต้นไม้เจริญเติบโตด้วยการให้ น้ำ ปุ่ย แสงแดด
4.ครูต้องรู้จักการใช้คำถาม
การถามคำถามสำหรับเด็กอนุบาลต้องเป้นคำถามที่มีลักษณะปลายเปิด เพื่อให้เด็กสามารถหาคำตอบได้หลากหลาย เป็นการกระต้นให้เด็กอยากหาคำตอบเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ เช่น
- เด็กเป่าลูกโป่งฟองสบู่ได้กี่ลูก
- ลูกโป่งฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร
5.ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักการสังเกตการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรม กล้วย
- ให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกล้วยในแต่ละวัน
- ให้เด็กจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของกล้วย
6การสอนวิทยาศาสตร์ครูต้องเตรียมอะไรบ้าง
- การประเมินพื้นฐานของเด็ก
- การเลือกกำหนดวัตถุประสงค์
- การวางแผนการจัดประสบการณ์
- การเลือกวัสดุอุปกรณ์
- การสอน
- การประเมิน
7.การสอนให้เด็กรู้จักอากาศมีนำหนัก
- เป่าลูกโป่งแล้วนำไปว่างไว้บนตราชั่ง 2 แขน
- อีกข้างให้เอาลูกโป่งที่ไม่ได้เป่าไปว่าง
สรุป ตราชั่งที่มีลูกโป่งเป่าจะต้ำลงเพราะมีอากาศ ส่วนอีกข้างจะลอยเพราะไม่มีน้ำหนัก
8.การประเมินของครุวิทยาศาสตร์
- การสังเกต
- การซักถาม
- การวัดผลงานของเด็ก

วันที่ 22 กันยายน 2553

สรุปงาน Mind Map ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
การจัดสภาพแว้ดล้อมทางการเรียน การจัดโต๊ะ เก้าอี้ในรูปเเบบของเกือกม้า หรือปากชาม การจัดในสภาพแบบนี้จะช่วยให้การเรียนการสอดได้ดีหากนำไปจัดให้เด็กอนุบาลก็จะทำให้เด็กสามารถมองเห็นได้ทั่งถึง
สรุปองค์ประกอบของการเขียนแผนผัง
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการเติมความสัมพันธ์ของสองอย่างเข้าด้วยกัน การสังเกต / การวัด / การจำแนก / มิติเวลา

หมายเหตุ
แจกเอกสารใบงาน

วันที่ 15 กันยายน 2553

แบ่งกลุ่มนำเสนอ Mind Map ให้เนื้อหาสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์


จากการเรียนในวันทำให้เราตระหนักถึงการคิดหัวเรื่องต่าง ๆ มาจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เช่น เรื่องสัตร์ เราก็จะคิดหาหัวข้อที่จะสามารถนำมาใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบของ Mind Map

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 8 กันยายน 2553

สรุปการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตรืที่โรงเรียสาธิตอนุบาลจันทรเกษม
( การนำเสนอหน้าชั้นเรียน )
แบ่งกลุมแต่ละกลุ่มคิดหน่วยการเรียนรู้ทำเป็น Mind Maps
( นำเสนอหน้าชั้นเรียน )
กล่มที่ 1 หน่วยผลไม้
กลุ่มที่ 2 หน่วยผัก
กลุ่มที่ 3 หน่วยสัตว์
กลุ่มที่ 4 หน่วยร่างกาย

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

วันที่ 1 กันยายน 2553

กิจกรรมวิทยาศาสตร์
- จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่จัดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม


วันที่ 25 สิงหาคม 2553

นำเสนอสื่อ
- สื่อที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
- สื่อที่เป็นวิทยาศาสตร์

วันที่ 17 - 18 สิงหาคม 2553

ทัศนศึกษาที่สัตหีบ



การไปทัศนศึกษาในครั้งนี้มีความประทับใจมาก เพราะมันไช่เป็นการไปเที่ยวเพียงอย่างเดียวแต่การไปในครั้งนี้พวกเรายังต้องไปร่วมทำกิจกรรมกับทหารที่ได้จัดเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ให้พวกเราได้ทำ มีทั้งความสนุกสนานและเหนื่อยแต่สิ่งที่ได้คุ้มค่ามากค่ะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาจารย์ของพวกเราที่ได้ดำเนินโครงการพาพวกเราออกมาในครั้งนี้ ทางค่ายทหารก็ต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พัก เรื่องอาหาร รวมไปถึงสถานที่ท่องเที้ยวต่าง ๆ ทุกที่สวยงามมากถือได้ว่าการไปในครั้งนี้พวกเราได้อะไรกับมาหลายอย่างเราจึงหวังว่าท่านครูอาจารย์จะนำพวกเราไปอีกครั้ง

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

วันที่ 4 สิงหาคม 2553

จัดกิจกรรม วันไหว้ครูและบายศรีรับน้องปี 1


การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ก็เพื่อให้นักศึกษาได้สำนึกถึงพระคุณของครู เพราะครูเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งในชีวิตเรา คือเป็นผู้ที่ประสิทธฺประสาทความรู้ให้และเป็นปูชนียบุคคลครูอาจารย์จึงเป็นผู้ที่สมควรแก่การได้รับการไหว้เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ครูยังเป็นผู้ที่ร่วมเผชิญเหตุการณืกับศิษย์อยู่เสมอแต่ในยามปกติแล้วศิษย์มักจะไม่เห็นครูสำคัญเท่าใดนัก จะเห็นความสำคัญก็ต่อเมื่อยามคับขัน ดังนั้นกิจกรรมในวันนี้ก็จะสามารถช่วยให้นักศึกษาทุกคนมองเห็นพระคุณของครูอาจารย์ได้ไม่มากก็น้อย ในวันเดียวกันนี้ยังมีกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญรับน้องปี 1 เข้ามาสู้การเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยด้วย เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธ์รหว่างพี่น้องให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

วันที่ 28 กรกฎาคม 2553

ดู VDO เรื่อง น้ำ
น้ำมีอยู่ 3 น้ำ
- ของแข็ง
- ของเหลว
- ก๊าซ

การเปลี่ยนสถานะของน้ำ

ฝเมื่อน้ำแข็งได้รับความร้อนก็จะกลายเป็นของเหลว เมื่อไอระเหยไปกระทบกับความเย็นอีกทีก็จะกลายเป็นนำฝนทันที ( การควบแน่น )
ฝนคือไอนำที่ละเหยไปกระทบกับท้องฟ้าแล้วเกิดการควบแน่นกลายเป็นน
การทดลองน้ำหาย
1.เตรียม จาน แก้ว
2.นำน้ำใส่ภาชนะทั้งสองให้เท่ากัน
3.นำไปตากแดดทิ้งไว้หนึ่งวัน

สรุป

ปรากฎว่านำในจานหายไป ส่วนนำในแก้วลดลงเล็กน้อย เนื่องจากน้ำที่มีอยู่ในภาชนะที่มีผิวหน้ากว้างจะทำให้นำสามารถระเหยได้เร็วกว่าน้ำที่อยู่ในแก้ว
ซึ่งมีผิวหน้าแคบ เมื่อทั้งสองภาชนะโดนแสงอาทิตย์
การเติบโตของน้ำ
1.นำน้ำมาใส่ในแก้วจนเต็ม
2.นำกระดาษมาปิดฝาแก้วแล้วนำไปแช่แข็ง
สรุป
ปรากฎว่านำแข็งพูนขึ้นมา เนื่องจากว่าโมเลกุลของนำที่ถูกอัดแน่นหากนำไปแช่แข็งโมเลกุลของนำแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่าและหลวมจึงทำให้น้ำพูนขึ้นมา
การตกปลาน้ำแข็ง
1.เตรียมอุปกรณ์ น้ำแข็งหลอด เกลือ ผ้าผันแผล
2.เอาผ้าผันแผลมาว่างไว้บนนำแข็ง
3.จากนั้นนำเกลือมาโรยบนผ้า แล้วทิ้งไว้สักพัก
4.จากนั้นยกผ้าพันแผลขึ้นมาเบา ๆ น้ำแข็งก็จะติดผ้าขึ้นมาด้วย
สรุป
เนื่องจากว่าเกลือสามารถดูดความร้อนได้จึงทำให้อุณหภูมิที่อยู่บริเวณนั้นต่ำลงเมื่อนำเกลือมาโรยบนผ้าจึงทำให้บริเวณนั้นเย็นมากและแห้งนำแข็งจึงติดขึ้นมากับผ้า
ความกดดันของน้ำ
1.นำขวดมา 1 ใบ เจาะรูในแนวตั้ง 3 รู ให้ตรงกัน แล้วปิดรูทั้งสามไว้
2.จากนั้นเติมนำลงไปในขวดให้เต็ม
3.แล้วปิดรู้ที่เจาะไว้ทีละรู โดยเริ่มจากรูที่อยู่ข้างบนสุด
สรุป
น้ำจากรู้ที่อยู่ล่างสุดจะพุ่งออกมาไกลที่สุด เพราะแรงกดดันในแต่ละส่วนของรูที่เจาะไม่เท่ากันรูบนสุดมีแรงกดดันน้อย และไล่ลงมาทีละระดับจนถึงรูสุดท้าย ที่มีแรงกดดันมากสุด
แรงตรึงของน้ำ
1.นำน้ำใส่ลงไปในอ่าง นำเข็มเย็บผ้าว่างลงผิวน้ำเบา ๆ
สรุป
เข็มลอยอยู่บนผิวน้ำ เพราะแรงตรึงผิว เมื่อผิวนำสัมผัสอากาศโมเลกุลของน้ำก็จะเกิดความยืดหยุ่น
เรือโฟม
1.เอาโฟมมาตัดเป็นรูปเรือ
2.นำเรือมาตัดตรงส่วนท้ายให้เป็นร่องแล้วนำไปว่างลงบนผิวน้ำเบา ๆ เรื่อจะอยู่นิ่งกับที่
3.จากนั้นให้เปลี่ยนนำสบู่มาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปใส่ในร่องที่ตัดเตรียมไว้เรื่อก็จะวิ่ง
สรุป
เพราะสบู่มีสารลดแรงตึงผิว บริเวณที่มีสบู่แรงตึงผิวจะเบาจึงทำให้เรื่อวิ่งได้



วันที่ 21 กรกฎาคม 2553

นำเสนอโครงการ
- ข้อเสนอแนะในการแก้ไขโครงการ
1.โครงการกิจกรรมตกแต่งถุงผ้าช่วยลดภาวะโลกร้อน
ข้อปรับปรุง
มีการแสดงบทบาทสมมุติ แสดงให้เห็นไม่ชัดว่าถุงพลาสติกมีความเกี่ยวข้องอย่างไรและผลกระทบจากถุงขยะไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลดีของการเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้า เช่น พอถุงมีเยอะย่อยยากแต่มันยังไม่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เนื้อหาในการนำเสนอตัวเล็ก ให้เปลี่ยนจากเนื้อหาในหลักการเป็นแหล่งข้อมูล
2.โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
ข้อปรับปรุง
มีการนำภาพมาอธิบายให้เห็นจากผลเสียที่เกิดขึ้นจากขวดพลาสติกและมีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ภาพสื่อเล็กมากเกินไปควรนำภาพขึ้น power point แต่การอธิบายออกมาได้เป็นอย่างดีเข้าใจง่าย
3.โครงการถังขยะอัจฉริยะ
ข้อปรับปรุง
แก้ไขแบบฟอร์ม power point ใช้การทำกิจกรรมจากเนื้อหาของหลักการเช่นการตอบคำถาม การยกตัวอย่างในหลักการ ให้มีกิจกรรมแยกขยะเพื่อนำไปสู่โครงการใส่เนื้อหาละครที่จะแสดง เพื่อให้เห็นชัดเจน ว่ามันคืออะไร ทำอะไร นำสื่อวิดิโอจากภัยธรรมชาติ พร้อมละคร การประเมิน ใช้แบบสังเกต
4.โครงการกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัย
ข้อปรับปรุง
กิจกรรมซำกับขวดพลาสติก ไม่มีประเด็นของโครงการที่ชัดเจนควรมีการเชื่อมโยงดึงปัญหาที่เกิดกับเด็กและเกิดเป็นกิจกรรมได้อย่างไรควรมีสื่อเพื่อให้เห็นถึงภาวะโลกร้อน , เทคนิคการเรียนภาพเหตุการณ์ควรมีคำถามเข้ามาใช้
5.โครงการคลายโลกร้อนด้วยมือน้อย
ข้อปรับปรุง
ประเด็นที่นำมาเสนอไม่ใช่ประเด็นของผู้ทำโครงการวัตถุไม่ควรใส่รูปเด็กเพราะโครงการยังไม่ได้มีการดำเนินตัวหนังสือมองไม่เห็นและมากเกิดไป
การบ้าน
ประดิษฐ์เศษขยะตามโครงการ ( กลุ่ม )
ทำสื่อวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุ ( กลุ่ม)
ตอบคำถาม
1.สาเหตุ
2.วิธีการอย่างไรที่จะลดภาวะโลกร้อน
3.อ้วงอิงข้อมุล

วันที่ 14 กรกฎาคม 2553

นำเสนอศิลปะที่สะท้อนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ( พร้อมชิ้นงาน )
การนำเสนอโครงการของแต่ละกลุ่ม
1.โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัด จากขวดพลาสติก
2.โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อน
3.โครงการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม
4.โครงการกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
5.โครงการถังขยะมหัศจรรย์
นำเสนอโครงการเกี่ยวกับการตระหนักถึงความสำคัญของภาวะโลกร้อนชื่อโครงการ ถังขยะอัจฉริยะในการทำโครงการมีสื่อละครเวทีให้เด็กดูเพื่อให้เห็นถึงภาพของความสำคัญการรักษ์โลก และการดำเนินกิจกรรมมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์ของถังขยะอีกด้วย งบประมาณคร่าวๆ 300 บาทเนื้อหาที่ต้องเพิ่มเติม จากอาจารย์ต่อยอดโครงการให้เป็นรายสัปดาห์ มีสังเกตพฤติกรรมของแต่ละห้องว่ามีการแยกขยะได้ถูกต้องและจัดตั้งโครงการประกวดการประดิษฐ์ของเหลือใช้จากเศษวัสดุ
การบ้าน ให้จัดทำสื่อการเรียน ศิลปะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
วันพุธที่ 21 ก.ค 53 ย้ายเวลาเรียน 9.00 น.

วันที่ 7 กรกฎาคม 2553

นำเสนอกิจกรรมลดภาวะโลกร้อน
ตัวแทนของแต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรม
ถุงผ้าลดโลกร้อน (เด็กอายุ 4 ปี)
ขยะรีไซเคิล (เด็กอายุ 3ปี)
เรียงรูปภาพการตัดไม่ทำลายป่า(เด็กอายุ 5ปี)
ชุดจากถุงขนม ร้องเทาจากขวดน้ำ (เด็กอายุ 4ปี)
การรณรงค์ให้เก็บขยะ แยกขยะ (เด็กอายุ 5 ปี)

การบ้าน
- เขียนโครงการให้เด็กตระหนักถึงภาวะโลกร้อน
หน่วยงาน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อโครงการ กิจกรรมลดโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ อาจาร์จินตนา สุขสำราญ
ระยะเวลาดำเนินงาน 1-2 วัน

หลักการ
ภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ภาวะโลกร้อน คือปรากฏการณ์ที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ เนื่องจากโลกของเราถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจก ที่มากเกินสมดุลของธรรมชาติ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกสิ่งภายในโลก ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล น้ำท่วมอากาศหนาวและร้อนผิดปกติเราจึงจัดกิจกรรมให้เด็กอนุบาลได้สำนึกถึงปัญหาของภาวะโลกร้อนเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3-6 ปี อยู่ในช่วงที่มีการเรียนรู้ได้ดีที่สุด และสิ่งที่เรียนรู้ จะเป็นพื้นฐาน ของการดำลงชีวิตในระยะต่อมา ฉะนั้นการปูพื้นฐานให้เด็กได้รู้จักภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มาจัดเป็นกิจกรรม เป็นสาระการเรียนรู้ที่ผสมผสานกับกิจวัตรประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้เด็ก ได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จึงน่าจะเป็น สิ่งที่มีประโยชน์ยิ่ง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ จึงนับได้ว่าเป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษาอนุบาล ครู และผู้ปกครอง ที่จะได้นำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเด็ก อันเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติสืบไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาเด็กตามแนวโครงการพระราชดำริฯ รวมทั้งปลูกฝังให้ เด็กไทยเห็นคุณค่า และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม ตั้งแต่วัยอนุบาล
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาลเห็นถึงผลกระทบของภาวะโลกร้น
3. เพื่อฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาลรู้จักคุณค่าของการปลูกต้นไม้
วิธีการดำเนินงาน
กิจกรรมเรียงลำดับภาพเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า
1. แนะนำเด็กให้รู้จักและสังเกตเกมเรียงลำดับภาพเหตุการณ์สภาพของป่าไม้ โดยสนทนาภาพกับเด็กทีละภาพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพ
2. ให้เด็กนำภาพมาเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลังตามแนวตั้งหรือแนวนอนให้ถูกต้อง
3. เมื่อเด็กเล่นเสร็จให้เก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย
กิจกรรมศิลปะลดโลกร้อน
1. ครูสั่งให้เด็กนำขวดน้ำที่เหลือใช้มาจากบ้านคนละขวด
2. ครูเตรียม กระดาษหนังสือพิมพ์ กาว สี ไว้ให้เด็ก
3. แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม แล้วครูอธิบายวิธีการทำพร้อมพูดสนทนาถึงประโยชน์จากสิ่งที่เราทำให้เด็กฟัง
กิจกรรมการปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน
1. เปลี่ยนจากการจัดกิจกรรมภายในห้องเรียน มาเป็นภายนอกห้องเรียน
2. ครูแจกต้นไม้สำหรับปลูกให้เด็กคนละต้น
3. เมื่อแจกเสร็จให้ครูพาเด็กนำต้นไม้ไปปลูกยังบริเวณที่จัดเตรียมไว้
4. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้เด็กทำความสะอาดร่างการ
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1-2 วัน
งบประมาณ
1. ค่าต้นไม้ 150 บาท
( ต้นละ 5 บาท จำนวน 30 ต้น )
การประเมินโครงการ
1. สังเกตพฤติกรรม ความตั้งใจฟังการบรรยาย การซักถามข้อมูลของเด็ก
2. สังเกตพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
3. สังเกตการณ์เข้าร่วมสังคมของเด็ก

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะแต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมา ซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย
การป้องกัน
ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้
1. การลดระยะทาง
2. ปิดเครื่องปรับอากาศ
3. ลดระดับการใช้งานของเครื่องใ้ชไฟฟ้า
4. Reuse
5. การรักษาป่าไม้
6. ลดการใช้น้ำมัน
การแก้ปัญหาโลกร้อน
เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าเราคงไม่อาจหยุดยั้งสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตแก๊สเรือนกระจกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้ เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็ก ๆ จำนวนมากทำงานประสานกัน การตอบสนองที่มีต่อการกระตุ้นต่าง ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล และแน่นอนว่า สภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมจะแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันอย่างมาก
แต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้ และอาจจะชะลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง กินเวลานานขึ้น สิ่งที่เราพอจะทำได้ตอนนี้คือพยายามลดการผลิตแก๊สเรือนกระจกลง และเนื่องจากเราทราบว่าแก๊สดังกล่าวมาจากกระบวนการใช้พลังงาน การะประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อนไปในตัว

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 30 มิถุนายน 2553

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริง ๆ หรือ

- ไม่เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้เกิความคิดสร้างสรรค์และช่วยให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวเพราะพัฒนาการของเด็กนั้นชอบที่จะเรียนรู้สิ่งที่แปลกใหม่
ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปหรือไม่
- ไม่เพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก
-เป็นการปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของเด็กโดยไม่สนใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กถามหรืออยากจะรู้
-ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็ก ๆ ไม่ให้เด็กมีโอกาสในการอธิบาย
-ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
ธรรมชาติของเด็ฏปฐมวัย
-พอใจที่คนตามใจ
-มีความสนใจสั้น (8-10 นาที)
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
-อยากรู้อยากเห็นเรื่องราวต่าง ๆ

สิ่งที่ได้ในการเรียนวันนี้
-ครูหรือผู้ปกครองไควรปิดกั้นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก
-วิทยาศาสตร์เปรียบเหมือนสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก
-ถ้าเด็กมีข้อสงสัยหรือมีข้อซักถามมากจนเกินความสามารถที่ผู้ใหญ่จะตอบได้ควรที่จะเปรียนความสนใจเด็ๆกแทนการใช้อารมณ์กับเด็ก
-ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ควรที่จะส่งเสริมกับพัฒนาการของเด็ก
-เมื่อผู้ไหญ่เข้าใจเด็ก ก็จะทำให้เด็กเรีบยนรู้เกี่ยวกับวิทยาสศาตร์ได้ดี
-ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจย์ คือ พัฒนาการคิดขึ้นจากการทำงานของสมองที่จะซึมซับข้อมูล จนได้ความรู้ใหม่ไว้ใช้ในชีวิตประจำวันให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
-พัฒนาการสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-ให้เด็กได้คิดเชื่อมโยงเซลสมองและสติปัญญา